ประเพณีที่สำคัญ
ประเพณีบวชช้าง
ประเพณีบวชช้าง หรือเรียกว่า “แห่ช้าง” อยู่เคียงคู่ผู้คนที่มีสายเลือดไทยพวนมานานแล้ว คือ การนำช้างมาร่วมในพิธีบรรพชาอุปสมบท
มาจากคติความเชื่อทางพุทธศาสนาว่า ถือตามที่พระเวสสันดรให้ช้างปัจจัยนาเคนทร์ อันเป็นช้างเผือกคู่บารมีที่ชาวเมืองเชตุดรถือว่าเป็นมงคลหัตถี
แก่พราหมณ์ทั้ง ๘ จากแคว้นกลิงคราษฎร์ที่มาทูลขอ
ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับอีกตำนานหนึ่ง คือ ตอนที่พระเจ้ากรุงสัญชัย พระราชบิดาของพระเวสสันดรขอให้พระเวสสันดรกลับมาเป็นพระมหากษัตริย์ตามเดิมนั้น พระองค์ได้จัดขบวนช้าง ม้า และรถ ประดับประดาเหมือนออกศึกสงครามให้สมเกียรติ เพื่อไปรับพระเวสสันดรและพระนางมัทรี ขบวนแห่แหนขับด้วยมโหรี
และการละเล่นต่างๆ เป็นการเฉลิมฉลอง
ความเชื่ออีกประการหนึ่ง คือ คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ที่มุ่งให้ผู้บวชถือปฏิบัติตนเพื่อไปสู่โลกอุดร หรือโลกุตรธรรม คือ ธรรมอันพ้นจากโลก ได้แก่
พระนิพพาน แต่คนทั่วไปเข้าใจว่า อุดร หมายถึง ทิศเหนือซึ่งมีสัญลักษณ์ คือ ช้าง ชาวบ้านหาดเสี้ยวจึงนำสัญลักษณ์ที่เรียกว่า “โนนงก” มาเป็นส่วนร่วมใน
ขบวนแห่นาคมาจนถึงทุกวันนี้
ประเพณีบวชช้าง เดิมจัดในวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๔ และบวชในวันแรม ๔ ค่ำ เดือน ๔ แต่ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้เปลี่ยนเป็นวันที่ ๗ เมษายน ของทุกปี แล้วทำพิธีบวชในวันรุ่งขึ้น
ประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮงสรงน้ำเจ้าพ่อเมืองด้ง
ประเพณีนี้จะจัดขึ้นเพื่อถวายสักการะศาลเจ้าพ่อ – เมืองด้ง ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ของอำเภอศรีสัชนาลัยในสมัยพระเจ้าอติโลกราช โดยกำหนดการจัดงานในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ณ โรงเรียนเมืองด้งวิทยา ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
ประเพณีสรงน้ำโอยทาน
จากหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า “..คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน(ให้ทาน) พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายทั้งผู้ญีง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา..”
จากจารึกแสดงให้เห็นว่าชาวสุโขทัยในสมัยเมื่อ ๗๐๐ ปีมาแล้ว ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม โครงการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จึงได้มีแผนที่จะรักษาเอกลักษณ์ของการทำบุญสุนทานให้คงอยู่ในสุโขทัย ให้เหมือนในอดีต จึงร่วมมือกับจังหวัด พ่อค้า ประชาชน จัดงานสรงน้ำโอยทานขึ้นในวันที่ ๑๒ – ๑๔ เมษายน ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ และได้จัดเป็นประเพณีทุกปี
ในส่วนของอำเภอศรีสัชนาลัยมีประเพณีสรงน้ำโอยทาน ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ ๑๒ เมษายน ของทุกปีงานในภาคเช้าเริ่มด้วยพิธีบวงสรวงบริเวณหลักเมืองในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตอนบ่ายมีขวนแห่ซึ่งตกแต่งอย่างสวยงาม ประกอบด้วยขบวนแห่พระพุทธรูปรถพระร่วง พระลือ และขบวนรถของแต่ละตำบลขบวนรถจะเคลื่อนจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยมายังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมื่อขบวนรถเคลื่อนมาตามถนนประชาชนที่อยู่ริมถนนจะนำน้ำมาสรงพระพุทธรูป และพระร่วง พระลือ เมื่อขบวนมาถึง
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ก็จะนำพระพุทธรูป พระร่วง พระลือ ไปประดิษฐานไว้บนแท่น เพื่อให้ประชาชนสรงน้ำพร้อมกับพระสงฆ์และผู้สูงอายุตามลำดับ
อำเภอศรีสัชนาลัยได้รับการบันทึกจากองค์การยูเนสโกและประกาศเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543
ประเพณีที่สำคัญ
ประเพณีบวชช้าง
ประเพณีบวชช้าง หรือเรียกว่า “แห่ช้าง” อยู่เคียงคู่ผู้คนที่มีสายเลือดไทยพวนมานานแล้ว คือ การนำช้างมาร่วมในพิธีบรรพชาอุปสมบท
มาจากคติความเชื่อทางพุทธศาสนาว่า ถือตามที่พระเวสสันดรให้ช้างปัจจัยนาเคนทร์ อันเป็นช้างเผือกคู่บารมีที่ชาวเมืองเชตุดรถือว่าเป็นมงคลหัตถี
แก่พราหมณ์ทั้ง ๘ จากแคว้นกลิงคราษฎร์ที่มาทูลขอ
มาจากคติความเชื่อทางพุทธศาสนาว่า ถือตามที่พระเวสสันดรให้ช้างปัจจัยนาเคนทร์ อันเป็นช้างเผือกคู่บารมีที่ชาวเมืองเชตุดรถือว่าเป็นมงคลหัตถี
แก่พราหมณ์ทั้ง ๘ จากแคว้นกลิงคราษฎร์ที่มาทูลขอ
ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับอีกตำนานหนึ่ง คือ ตอนที่พระเจ้ากรุงสัญชัย พระราชบิดาของพระเวสสันดรขอให้พระเวสสันดรกลับมาเป็นพระมหากษัตริย์ตามเดิมนั้น พระองค์ได้จัดขบวนช้าง ม้า และรถ ประดับประดาเหมือนออกศึกสงครามให้สมเกียรติ เพื่อไปรับพระเวสสันดรและพระนางมัทรี ขบวนแห่แหนขับด้วยมโหรี
และการละเล่นต่างๆ เป็นการเฉลิมฉลอง
และการละเล่นต่างๆ เป็นการเฉลิมฉลอง
ความเชื่ออีกประการหนึ่ง คือ คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ที่มุ่งให้ผู้บวชถือปฏิบัติตนเพื่อไปสู่โลกอุดร หรือโลกุตรธรรม คือ ธรรมอันพ้นจากโลก ได้แก่
พระนิพพาน แต่คนทั่วไปเข้าใจว่า อุดร หมายถึง ทิศเหนือซึ่งมีสัญลักษณ์ คือ ช้าง ชาวบ้านหาดเสี้ยวจึงนำสัญลักษณ์ที่เรียกว่า “โนนงก” มาเป็นส่วนร่วมใน
ขบวนแห่นาคมาจนถึงทุกวันนี้
พระนิพพาน แต่คนทั่วไปเข้าใจว่า อุดร หมายถึง ทิศเหนือซึ่งมีสัญลักษณ์ คือ ช้าง ชาวบ้านหาดเสี้ยวจึงนำสัญลักษณ์ที่เรียกว่า “โนนงก” มาเป็นส่วนร่วมใน
ขบวนแห่นาคมาจนถึงทุกวันนี้
ประเพณีบวชช้าง เดิมจัดในวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๔ และบวชในวันแรม ๔ ค่ำ เดือน ๔ แต่ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้เปลี่ยนเป็นวันที่ ๗ เมษายน ของทุกปี แล้วทำพิธีบวชในวันรุ่งขึ้น
ประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮงสรงน้ำเจ้าพ่อเมืองด้ง
ประเพณีนี้จะจัดขึ้นเพื่อถวายสักการะศาลเจ้าพ่อ – เมืองด้ง ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ของอำเภอศรีสัชนาลัยในสมัยพระเจ้าอติโลกราช โดยกำหนดการจัดงานในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ณ โรงเรียนเมืองด้งวิทยา ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
ประเพณีสรงน้ำโอยทาน
จากหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า “..คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน(ให้ทาน) พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายทั้งผู้ญีง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา..”
จากจารึกแสดงให้เห็นว่าชาวสุโขทัยในสมัยเมื่อ ๗๐๐ ปีมาแล้ว ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม โครงการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จึงได้มีแผนที่จะรักษาเอกลักษณ์ของการทำบุญสุนทานให้คงอยู่ในสุโขทัย ให้เหมือนในอดีต จึงร่วมมือกับจังหวัด พ่อค้า ประชาชน จัดงานสรงน้ำโอยทานขึ้นในวันที่ ๑๒ – ๑๔ เมษายน ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ และได้จัดเป็นประเพณีทุกปี
ในส่วนของอำเภอศรีสัชนาลัยมีประเพณีสรงน้ำโอยทาน ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ ๑๒ เมษายน ของทุกปีงานในภาคเช้าเริ่มด้วยพิธีบวงสรวงบริเวณหลักเมืองในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตอนบ่ายมีขวนแห่ซึ่งตกแต่งอย่างสวยงาม ประกอบด้วยขบวนแห่พระพุทธรูปรถพระร่วง พระลือ และขบวนรถของแต่ละตำบลขบวนรถจะเคลื่อนจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยมายังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมื่อขบวนรถเคลื่อนมาตามถนนประชาชนที่อยู่ริมถนนจะนำน้ำมาสรงพระพุทธรูป และพระร่วง พระลือ เมื่อขบวนมาถึง
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ก็จะนำพระพุทธรูป พระร่วง พระลือ ไปประดิษฐานไว้บนแท่น เพื่อให้ประชาชนสรงน้ำพร้อมกับพระสงฆ์และผู้สูงอายุตามลำดับ
อำเภอศรีสัชนาลัยได้รับการบันทึกจากองค์การยูเนสโกและประกาศเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น