ประวัติและข้อมูลของอำเภอศรีสัชนาลัย
ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ปรากฏหลักฐานทางพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์สุ้ง(ราว พ.ศ. 1503-1607) ได้บันทึกชื่อแคว้นๆ หนึ่งเรียกตามสำเนียงจีนว่า “เฉินหลิ่ง”
และพงศาวดารโยนก ได้กล่าวถึงพระเจ้าไชยศิริ ได้รี้พลอพยพมาจากนครไชยปราการหนีพวกมอญ และไทยใหญ่ ลงมาทางใต้ถึงแดนเฉลี่ยงและ”เฉินเหลียง”
และพงศาวดารโยนก ได้กล่าวถึงพระเจ้าไชยศิริ ได้รี้พลอพยพมาจากนครไชยปราการหนีพวกมอญ และไทยใหญ่ ลงมาทางใต้ถึงแดนเฉลี่ยงและ”เฉินเหลียง”
เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นชื่อ “เมืองเชลียง” ซึ่งเป็นชื่อดั้งเดิมของเมืองศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย ตั้งขึ้นราว พ.ศ. ใดไม่ทราบแน่ชัด เพราะไม่ปรากฏหลักฐานใด
ในดินแดนราบลุ่มริมแม่น้ำยมและที่ลาดเชิงเขาพระศรีเขาใหญ่ เขาสุวรรณคีรี เขาพนมเพลิงเป็นพื้นที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน เนื่องจากมีแม่น้ำและภูเขาเป็นปราการล้อมรอบ ไม่เฉพาะทำเลที่ตั้งเท่านั้นแต่ความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำยมและคลองเล็กคลองน้อยที่ไหลเชื่อมโยงในพื้นที่ดังกล่าว จึงทำให้มีชุมชนก่อตัวขึ้นบริเวณนี้ตลอดมา
มีหลักฐานเอกสารในโบราณของไทยและจีน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 ได้กล่าวถึงเมืองโบราณแห่งหนึ่งอยู่ระหว่างบริเวณเมืองสุโขทัย โดยเอกสารจีนโบราณราชวงศ์ซุง เรียกเมืองเฉินเหลียง พงศาวดารโบราณเรียกว่า
ก่อนช่วงเวลาที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จะเป็นกษัตริย์ปกครองสุโขทัยนั้นมีเหตุการณ์ที่ปรากฎในศิลาจารึกตำนานและพงศาวดาร ยืนยันว่าปรากฎมีเมืองโบราณ 2 เมือง
ในลุ่มแม่น้ำยมอยู่ก่อนแล้ว คือ เมืองสุโขทัย กับ เมืองเชลียง
พระมหากษัตริย์ไทยองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพ่อขุนศรีนาวนำถม ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์ผาเมือง เคยเป็นเจ้าเมืองเชลียงก่อนที่จะขึ้นคลองราชย์ที่สุโขทัย เมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสิ้นพระชนม์ ขอมสมาดโขลงลำพงใช้กำลังยึดทั้งเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย
ต่อมาพ่อขุนผาเมืองโอรสพ่อขุนศรีนาวนำถมร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาวได้ยึดเมืองทั้งสองกลับมาได้จนในที่สุด พ่อขุนบางกลางหาวได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองสุโขทัย โดยมีพระราชนามว่า “ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ “
ต่อมาพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้ส่งราชโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์ คือ พ่อขุนบาลเมืองไปครองเมืองศรีสัชนาลัย ต่อมาพ่อขุนบาลเมืองขึ้นครองราชย์ที่สุโขทัย แล้วพ่อขุนรามคำแหงจึงได้ปกครองเมือง ศรีสัชนาลัยซึ่งน่าจะเป็นที่มาของคำว่า “ เมืองลูกหลวง “ เมืองศรีสัชนาลัยคงดำรงความเป็นเมืองลูกหลวงของสุโขทัย
ต่อมาอีกหลายชั่วกษัตริย์แม้เมืองสุโขทัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาในช่วงต้นๆ ของการเสียอิสรภาพ เชื้อพระวงศ์ผู้สูงศักดิ์แห่งราชวงศ์พระร่วงก็คงได้รับเกียรติปกครองดูแลเมือง ศรีสัชนาลัยอยู่ตามเดิมจนมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา
เมืองนี้กลายเป็นสมรภูมิการรบครั้งสำคัญและเป็นเมืองรับศึก ระหว่างสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาและพระเจ้าติโลกนาถแห่งเชียงใหม
ชัยชนะของอยุธยาในศึกครั้งนี้ก่อให้เกิดวรรณคดีเฉลิม พระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งถือเป็นชั้นเย่ยมของวรรณคดีคือ “ ลิลิตยวนพ่าย” ผลอันสำคัญหลังศึกยวนพ่าย คือเมืองศรีสัชนาลัยตกอยู่ในการควบคุมของอยุธยาอย่างจริงจัง
ต่อมาในราวปีพุทธศักราช 2,000 ราชอาณาจักรสุโขทัย เสื่อมอำนาจลงและกรุงศรีอยุธยา ได้เป็นราชธานีของไทย เมืองศรีสัชนาลัย ลดความสำคัญลงมีสถานะเป็นเพียงเมืองกั้นระหว่างกรุงศรีอยุธยากับลานนา ร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ของเมือง “ศรีสัชนาลัย” ที่สำคัญได้แก่ แหล่งโบราณสถาน ประเทศศาสนสถาน และเตาเผาเครื่องถ้วยชามสังคโลก
ศาสนสถานมีโครงสร้างเป็นศิลาแลงที่ตัดมาจากศิลาแลงธรรมชาตินอกเมือง ฉาบผิวนอกและปั้นแต่งลวดลานด้วยปูนบางแห่งตบแต่งด้วยภาพจิตรกรรม สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาเตาทุเรียง มีอยู่จำนวนมากว่า 300 แห่ง โครงสร้างของเตา เป็นทั้งอิฐและดินธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีแหล่งสาธารณูปโภค เช่น คลอง สระน้ำ บ่อน้ำ คูน้ำ เป็นต้น
ก่อนช่วงเวลาที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จะเป็นกษัตริย์ปกครองสุโขทัยนั้นมีเหตุการณ์ที่ปรากฎในศิลาจารึกตำนานและพงศาวดาร ยืนยันว่าปรากฎมีเมืองโบราณ 2 เมือง
ในลุ่มแม่น้ำยมอยู่ก่อนแล้ว คือ เมืองสุโขทัย กับ เมืองเชลียง
พระมหากษัตริย์ไทยองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพ่อขุนศรีนาวนำถม ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์ผาเมือง เคยเป็นเจ้าเมืองเชลียงก่อนที่จะขึ้นคลองราชย์ที่สุโขทัย เมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสิ้นพระชนม์ ขอมสมาดโขลงลำพงใช้กำลังยึดทั้งเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย
ต่อมาพ่อขุนผาเมืองโอรสพ่อขุนศรีนาวนำถมร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาวได้ยึดเมืองทั้งสองกลับมาได้จนในที่สุด พ่อขุนบางกลางหาวได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองสุโขทัย โดยมีพระราชนามว่า “ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ “
ต่อมาพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้ส่งราชโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์ คือ พ่อขุนบาลเมืองไปครองเมืองศรีสัชนาลัย ต่อมาพ่อขุนบาลเมืองขึ้นครองราชย์ที่สุโขทัย แล้วพ่อขุนรามคำแหงจึงได้ปกครองเมือง ศรีสัชนาลัยซึ่งน่าจะเป็นที่มาของคำว่า “ เมืองลูกหลวง “ เมืองศรีสัชนาลัยคงดำรงความเป็นเมืองลูกหลวงของสุโขทัย
ต่อมาอีกหลายชั่วกษัตริย์แม้เมืองสุโขทัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาในช่วงต้นๆ ของการเสียอิสรภาพ เชื้อพระวงศ์ผู้สูงศักดิ์แห่งราชวงศ์พระร่วงก็คงได้รับเกียรติปกครองดูแลเมือง ศรีสัชนาลัยอยู่ตามเดิมจนมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา
เมืองนี้กลายเป็นสมรภูมิการรบครั้งสำคัญและเป็นเมืองรับศึก ระหว่างสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาและพระเจ้าติโลกนาถแห่งเชียงใหม
ชัยชนะของอยุธยาในศึกครั้งนี้ก่อให้เกิดวรรณคดีเฉลิม พระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งถือเป็นชั้นเย่ยมของวรรณคดีคือ “ ลิลิตยวนพ่าย” ผลอันสำคัญหลังศึกยวนพ่าย คือเมืองศรีสัชนาลัยตกอยู่ในการควบคุมของอยุธยาอย่างจริงจัง
ต่อมาในราวปีพุทธศักราช 2,000 ราชอาณาจักรสุโขทัย เสื่อมอำนาจลงและกรุงศรีอยุธยา ได้เป็นราชธานีของไทย เมืองศรีสัชนาลัย ลดความสำคัญลงมีสถานะเป็นเพียงเมืองกั้นระหว่างกรุงศรีอยุธยากับลานนา ร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ของเมือง “ศรีสัชนาลัย” ที่สำคัญได้แก่ แหล่งโบราณสถาน ประเทศศาสนสถาน และเตาเผาเครื่องถ้วยชามสังคโลก
ศาสนสถานมีโครงสร้างเป็นศิลาแลงที่ตัดมาจากศิลาแลงธรรมชาตินอกเมือง ฉาบผิวนอกและปั้นแต่งลวดลานด้วยปูนบางแห่งตบแต่งด้วยภาพจิตรกรรม สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาเตาทุเรียง มีอยู่จำนวนมากว่า 300 แห่ง โครงสร้างของเตา เป็นทั้งอิฐและดินธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีแหล่งสาธารณูปโภค เช่น คลอง สระน้ำ บ่อน้ำ คูน้ำ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น