ชนกลุ่มแรกๆของการก่อตั้งอำเภอศรีสัชนาลัยในปัจจุบัน มี 2 กลุ่ม คือ ชาวไทยล้านนา และชาวไทยสยาม
ชาวพื้นเมืองของอำเภอศรีสัชนาลัย มีหลายกลุ่ม แต่จะมี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้1.ชาวไทยสยาม อาศัยอยู่บริเวณศรีสัชนาลัยตอนใต้ เช่น ตำบลหนองอ้อ ท่าชัย ศรีสัชนาลัย พูดสำเนียงไทยเหน่อ หรือ สำเนียงสุโขทัยนั่นเอง เป็นชาวไทย เชื้อสายขอม เสียม หรือ สยามในอดีต เป็นผู้สร้างวัด และสิ่งปลูกสร้าง โบราณสถาน ที่พบในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
2.ชาวไทยล้านนา อาศัยอยู่บริเวณตอนบนของศรีสัชนาลัย เช่นตำบลบ้านตึก ตำบลแม่สิน ตำบลแม่สำ (บางหมู่บ้าน) เป็นชาวไทยเชื้อสายล้านนา พูดสำเนียงไทยเหนือ น่าจะอพพยมาจากทางเหนือ กลุ่มเดียวกับ คนอำเภอลับแล อุตรดิตถ์ ซึ่งมีพื้นที่อยู่ติดๆกัน ส่วน ตำบลแม่สิน น่าจะอพยพมาจากทางจังหวัดแพร่
และต่อมาได้มีคนเชื้อสายอื่นๆมาอาศัยด้วยเช่นกัน เช่น เชื้อสายลาว ไทพวน จีน และชาวไทยภูเขา
ตำนานได้กล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งอดีตมีชายแก่คนหนึ่งได้เดินทางเข้ามาถึงบ้านแห่งนี้ (บ้านตึกในปัจจุบัน “ เมื่อครั้งหมู่บ้านแหงนี้ยังไม่มีชื่อบ้านโดยมุ่งหน้าไปตั้งหลักฐานทำมา หากินในท้องที่อุดมสมบูรณ์ พอถึงหมู่บ้านแห่งนี้แล้วคิดว่าคงเดินทางไปไม่ได้อีกแล้วเพราะมีภูเขาล้อม รอบอยู่ข้างหน้าอีกด้วย
ประกอบกับเวลานั้นมีฝนตกชุกมากจึงได้เอ่ยขึ้นว่า “ ที่นี้ตึกแล้วฝนก็ตึ๊ก อย่างอื่นก็คงตึ๊กด้วย “ และจึงหยุดเดินทางและได้ตั้งหลักฐานมั่นคงอยู่ที่บ้านแห่งนี้ และต่อมาชาวบ้านแห่งนี้จึงได้เรียกชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “ บ้านตึ้ก “ ซึ่งต่อมาได้เรียกเพี้ยนมาเป็น “ บ้านตึก “ ในที่สุด (คำว่า “ ตึ๊ก “ มีความหมายว่า ที่สุดแล้ว เช่น อร่อยที่สุด ใหญ่ที่สุด ดีที่สุด ฯลฯ ประชาชนจึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “ บ้านตึ๊ก “ ในที่สุดและใช้อยู่จนปัจจุบัน)
คำว่าเมืองด้ง ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุ พ.ศ. ๒๔๒๘ ใบบอกเมืองสวรรคโลก จ.ศ. ๑๒๔๗ แสดงว่าเมืองด้งคง จะได้รับการยกฐานะชุมชนบริเวณบ้านตึกขึ้นเป็นเมือง ตำแหน่งเจ้าเมืองมียศเป็นที่พระเมืองด้ง ขึ้นอยู่ในความปกครองของเมืองสวรรคโลก ชื่อเมืองด้งมีความเป็นมาดังนี้
- พ.ศ. ๒๐๐๓ – ๒๐๐๗ เป็นที่ตั้งกองกำลังควบคุมเมืองเชลียง หรือศรีสัชนาลัย หรือเชียงชื่นของเจ้าหมื่นด้ง เจ้านครลำปาง
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ บ้านตึกได้ตั้งเป็นที่ว่าการอำเภอครั้งแรก ตั้งอยู่ที่บ้านปลายนา (หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านตึกในปัจจุบัน) เดิมชื่ออำเภอด้ง อยู่ห่างไปทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอ ปัจจุบันประมาณ ๑๒ กิโลเมตร โดยมีนายอำเภอ ๒ คน คือ คนที่ ๑ ชื่อพระเมืองด้ง
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2441 บ้านตึกได้ตั้งที่ว่าการอำเภอครั้งแรก ตั้งอยู่ที่ บ้านปลายนา (หมู่ที่ 3 ต.บ้านตึกในปัจจุบัน) เดิมชื่อ “ อำเภอด้ง” อยู่ห่างไปทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน ประมาณ 12 กม. สาเหตุที่ใช้ชื่อว่า “ อำเภอด้ง ”
เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของอำเภอเป็นที่ราบและมีภูเขาล้อมรอบเป็น รูปวงกลมคล้ายรูปกระด้ง จึงได้ตั้งชื่อว่า อำเภอด้ง ซึ่งตั้งอยู่ได้นานถึง 12 ปี โดยมีนายอำเภอ 2 คน คือ พระเมืองด้ง หมื่นดงนคร แต่ประชาชนนิยมเรียกนายอำเภอว่า เจ้าพ่อเมืองด้ง หรือ เจ้าปู่เมืองด้ง
หลังจากได้ย้ายที่ว่าการอำเภอด้งมาอยู่ที่ หมู่บ้านหาดเสี้ยว (บ้านหาดเชี่ยว) แล้ว ต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น “ อำเภอหาดเสี้ยว” ตามที่กล่าวมาข้างต้นจนถึง พ.ศ.2476 หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว คณะรัฐบาลสมัยพระยาพหลพลพยุหเสนาพิจารณาแล้วเห็นว่าควรจะนำปูชนียสถาน
————————————
ถิ่นฐานเดิมของชาวไทยพวน ตามประวัติศาสตร์ย่อมเป็นที่ทราบกันดีว่า ชนชาติไทยเรานั้นมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในตอนใต้ของประเทศจีน แล้วได้ถอยร่นลงมาเป็นลำดับตามเหตุการณ์ต่าง ๆ จนกระทั่งได้มาตั้งอยู่ ณ ที่ปัจจุบันนี้ ชาวไทยพวนก็เป็นคนไทยสาขาหนึ่ง ดังข้อความในหนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1 หน้า 295 ซึ่งคุณถวิล เกษรราช นำมาลงไว้ในหนังสือประวัติผู้ไทยตอนหนึ่งมีข้อความว่า “ชนชาติต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันนี้ นอกจากชาวไทยแล้ว ยังมีคนไทยสาขาอื่น ๆ อีกหลายสาขาเช่น ผู้ไทย พวน และโซ่ง ซึ่งเป็นคนไทย สาขาหนึ่ง เดิม ผู้ไทย พวน และโซ่ง มีถิ่นฐานอยู่ทางฝั่งแม่น้ำโขงในประเทศลาว ทางแขวงซำเหนือ และแขวงเซียงขวาง พวกผู้ไทยมีอยู่ทางอีสาน มีจังหวัดสกลนคร และนครพนม เป็นต้น ส่วนพวกพวนและพวกโซ่งมีอยู่กระจัดกระจายเป็นแห่ง ๆ ทางภาคกลางมีจังหวัดสุโขทัย จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดกาญจนบุรีเป็นต้น ไทยทั้ง 3 พวกนี้มีลักษณะทางภาษาใกล้เคียงกันมาก แทบจะกล่าวได้อย่างกว้าง ๆ ว่าเป็นภาษาไทยสาขาเดียวกัน แม้ ชาวไทยพวนเอง เรียกพวกบ้านเดียวกันหรือต่างบ้าน ก็จะมีคำว่า “ไทย” กำกับด้วยเสมอ คล้ายกับประเทศพวกตนเองว่าเป็นคนไทยเช่น ไทยบ้านเหนือ ไทยบ้านกลาง ไทยบ้านใต้ ไทยบ้านหาดสูง ไทยบ้านใหม่ ไทยบ้านแม่ราก และเรียกคนต่างถิ่นว่าเป็นคนไทยด้วย เช่น ถ้าพบคนต่างถิ่น เมื่อต้องการทราบว่าเป็นคนบ้านไหนก็จะถามว่าท่านเป็นคนบ้านไหน (ภาษาไทยพวนว่า เจ้าเป็นไทยบ้านเลอ) ดังนั้น จึงเข้าใจว่าชาวไทยพวนคงจะมีถิ่นฐานรวมอยู่ ณ ที่แห่งเดียวกันด้วย
“พวน” ซึ่งเป็นคำเรียกชื่อชาวไทยสาขาหนึ่ง มีถิ่นฐานอยู่ที่เมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวาง ในประเทศลาว มีความหมายว่ากระไร เหตุไรจึงเรียกชื่อว่า “พวน” การค้นคว้าได้ตั้งคำถามที่จะค้นคว้าไว้คือ “พวน , คนพวน , ชาวพวน, ไทยพวน, ลาวพวน ” หนังสือที่จะค้นคือ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อัขรานุกรมภูมิศาสตร์ ปทานุกรม กระทรวงธรรมการซึ่งเลิกใช้แล้วแต่ก็ต้องผิดหวังเพราะไม่มีคำว่าพวน ซึ่งให้ความหมายเป็นชื่อเรียกคนเลย มีแต่ เชือกเกลียว, แนว, รวงข้าวที่นวดแล้ว หรืออ้อยซึ่งหีบครั้งที่สอง ” เมื่อความหมายไม่ตรงกับที่ผู้เรียบเรียงต้องการ ดังนั้นจึงได้มีการค้นคว้าต่อจากการศึกษาทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการสอบถาม หรือการค้นคว้าจึงได้ความหมายว่าคำว่า “พวน” เป็นชื่อของคนไทยสาขาหนึ่ง ซึ่งทางภาคอีสานเรียกว่า “ไทยพวน” แต่ทางภาคกลางเรียกว่า “ลาวพวน” คำว่า “พวน” นี้เป็นสมญาของไทยสาขาหนึ่ง ก็คงทำนองเดียวกันเรียกชื่อกันตามถิ่นที่อยู่ ไทยสาขานี้ส่วนใหญ่อยู่ที่แขวง เชียงขวาง ประเทศลาว ถิ่นที่อยู่ของชาวไทยพวนนอกจากที่เชียงขวางแล้ว ยังกระจัดกระจายไปอยู่ที่อื่นอีกทั่วบริเวณ ลุ่มน้ำงึมในเขตประเทศลาว เช่น บ้านหาดสวนพันทอง ตาลเปี่ยว หาดเสี้ยว บุ่งพร้าว ตลิ่งชันบ้านเกิด ฯลฯ สมัยกรุงธนบุรี เมื่อประเทศลาวได้รวมเป็นอาณาจักรเดียวกันกับประเทศไทยจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แผ่นดินรัชกาลที่ 3
พลเมืองทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงได้ถูกกวาดต้อนมาอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงหลายท้องถิ่นด้วยกัน ทั้งภาคอีสาน และ ภาคกลาง คนไทยพวนได้ถูกกวาดต้อนมาด้วย และได้กระจัดกระจายไปอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั้ง 2 ภาค ภาคอีสาน เช่น ที่อำเภอผือ จังหวัดอุดรธานี ภาคกลางเช่น จังหวัดพิชิต จังหวัดสุโขทัย ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา และอื่น ๆ มีสิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ คนเหล่านี้เมื่อถูกกวาดต้อนมาพร้อมกัน เช่น เมืองเรณูนคร เป็นต้นเฉพาะชาวบ้านหาดเสี้ยว คงเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่โตมาก นอกจากที่ตกค้างอยู่ในหมู่บ้านหาดเสี้ยวเดิมแขวงเมืองตุลาคมประเทศลาวแล้ว ยังมาอยู่ที่ตำบลหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย และที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เฉพาะที่อำเภอแก่งคอย มีทั้งบ้านหาดเสี้ยวและบ้านตาลเปี่ยว แต่บ้านตาลเปี่ยว เปลี่ยนชื่อเป็นตาลเดี่ยวรุปว่า “พวน”
เป็นชื่อเรียกคนไทยสาขาหนึ่ง ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่เมืองพวนแขวงเมืองเชียงขวาง ในประเทศลาว ที่เรียกชื่อว่า เมืองพวนเพราะตั้งอยู่ใกล้ภูเขาชื่อว่าภูพวน จึงได้ตั้งชื่อเมืองว่า เมืองพวน แล้วเอาชื่อเมืองมาเรียก เป็นชื่อคนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองนั้นว่าคนพวนหรือชาวพวน เพื่อแก้ความข้องใจของคนบางคนซึ่งอาจมีขึ้นได้ว่าก็เมื่อภูเขาชื่อว่า ภูพวน เหตุไรจึงไม่ตั้งชื่อเมืองภูพวน เรียกชื่อคนว่าคนภูพวน หรือชาวภูพวนเล่าจึงขอชี้แจงเพิ่มเติมไว้สักเล็กน้อยคือ เพิ่มเติมทีเดียวอาจเป็นไปไม่ได้ ต่อมาคำว่าภูก็ลบเลือนหายไปเรียกกันแต่เพียงว่าเมืองพวน อีกอย่างหนึ่ง คำว่าภูเขาชาวพวนกับชาวอีสาน ดูเหมือนจะใช้ตรงกันคือ คำสองคำนี้มีความหมายอย่างเดียวกัน คือ ภูก็คือเขา เขาก็คือภู เวลาจะใช้ภูเขาก็ใช้แต่เพียงคำเดียวคือ คำว่าภูหรือเขา คำใดคำหนึ่ง ไม่ใช้สองคำรวมกัน เช่น ภูกระดึง ภูเขีย เขาพนมเพลิง เขาพลิ้ง เขาใหญ่ ถ้าเรียกตามภาษาภาคกลางก็เรียกว่า ภูเขากระดึง ภูเขาเขียว ภูเขาพนมเพลิง ภูเขาพลิ้ง ภูเขาใหญ่ ดังนั้น จึงสันนิษฐานว่าการตั้งชื่อเมืองพวน ท่านอาจไม่เอาคำว่าภูหรือเขาตั้งด้วย เอาแต่เพียงชื่อภูเขามาตั้งก็เป็นได้ มีตัวอย่างที่ชาวไทยพวนได้ตั้งกันมาแล้วเช่น บ้านหมี่ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เมื่อชาวไทยพวนอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในตอนแรก ก็ได้ตั้งชื่อว่า บ้านสนามแจง เพราะตั้งอยู่ใกล้ภูเขาชื่อว่าสนามแจง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของสถานีรถไฟบ้านหมี่ ทั้งนี้ได้ทราบจากผู้เฒ่าผู้แก่ชาวบ้านหาดเสี้ยวซึ่งมาเยี่ยมญาติบ้านสนามแจงเล่าให้ฟังว่า การตั้งชื่อบ้านก็เอาชื่อภูเขามาตั้งไม่ได้เอาภูหรือเขามาตั้งด้วย จึงเรียกแต่เพียงว่า “บ้านสนามแจง” ต่อมาจึงเรียกว่า บ้านหมี่
เมืองศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีสัชนาลัย ชาวบ้านเรียกว่าบ้านเมืองเก่า อยู่ทางทิศใต้ ของที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน ประมาณ 12 กิโลเมตร ทางกรมศิลปากร ได้กำหนดแนวทาง การอนุรักษ์เมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งเรียกว่า โครงการอุทยานประวัติศาสตร์
ศรีสัชนาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2525 และสามารถบูรณตบแต่งจนเปิดเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2533
ภายในเขตกำแพง เมืองมีโบราณสถานซึ่งบูรณะซ่อมแซมตบแต่งเรียบร้อยแล้ว ที่สำคัญมีอยู่ 8 แห่ง คือวัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดนางพญา วัดสวนแก้วอุทยานน้อย ศาลหลักเมือง วัดเขาพนมเพลิง และวัดสุวรรณคีรี อันเป็นสถานที่อันสำคัญของอุทยาน
เมื่อย้ายมาอยู่ที่บ้านหาดเสี้ยวจึงเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอหาดเสี้ยวและเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภศรีสัชนาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2486 เป็นต้นมา
สำหรับคำว่า “อำเภอศรีสัชนาลัย” เดิมเป็น “อำเภอศรีสัชชนาลัย” มี ช 2 ตัว ปัจจุบันใช้ ช. ตัวเดียว ทั้งนี้คณะกรรมการจัดทำ อักขรานุกรรมภูมิศาสตร์แห่งราชบัณฑิตยสถานและกรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาไทย ได้ประชุมรับรองแล้วให้เปลี่ยนชื่ออำเภอศรีสัชนาลัย เป็นอำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งมีความหมาย ดังนี้ ศรี หมายถึง ความดีงาม (ธรรมะ) สัชชนะ หมายถึง เงินทอง ลัย หมายถึง เมืองน่าอยู่
รวมความแล้ว หมายถึง เมืองธรรม เมืองทอง หรือเมืองอันเป็นที่อยู่ของคนดีหรือสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งเป็นอำเภอ / จังหวัด จึงได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอหาดเสี้ยวใหม่ “ เป็น “ อำเภอศรีสัชนาลัย “ เพราะเมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์คู่ กับเมืองเชลียง ซึ่งปัจจุบันนี้เมืองศรีสัชนาลัยได้ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีสัชนาลัย ชาวบ้านเรียกว่า “ เมืองเก่า ศรีสัชนาลัย “
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น