วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ของฝากอำเภอศรีสัชนาลัย


ของฝาก ของที่ระลึก

  # ส่วนส้มเขียวหวาน อำเภอศรีสัชนาลัยเป็นแหล่งปลูกส้มเขียวหวานที่มีชื่อของภาคเหนือตอนล่าง โดยทำกันเป็นอาชีพหลัก ส่วนใหญ่อยู่ในตำบลแม่สินและแม่สำ




  # ร้านเงินร้านทองลายโบราณ เป็นงานหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของชาวบ้านตำบลท่าชัย ตำบลศรีสัชนาลัยที่ตั้งใจทำทองและ เงินรูปพรรณ เลียนแบบอย่างเครื่องทองสมัยโบราณได้อย่างสวยงาม ปัจจุบันมีอยู่หลายร้าน
ทองโบราณ หรือ ทองศรีสัชนาลัยเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของชาวบ้านตำบลท่าชัยและ ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยที่บรรจงทำทองรูปพรรณเลียนแบบอย่างเครื่องทองสมัยโบราณได้ อย่างสวยงาม
จนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของชาวไทยและชาวต่างชาติ เริ่มแรกทองโบราณเกิดขึ้นมาจากความคิดของช่างทองตระกูล “วงศ์ใหญ่” โดยมีนายเชื้อ วงศ์ใหญ่ อยู่ที่ตำบลศรีสัชนาลัย มีอาชีพทำทองและรับซื้อทองเก่าหรือวัตถุโบราณ
ทำให้มีโอกาสเห็นเครื่องทองรูปพรรณแบบโบราณต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก และนับวันจะหายากยิ่งขึ้น วันหนึ่งมีผู้นำสร้อยโบราณที่ได้จากริมฝั่งแม่น้ำยมมาให้ดู จึงเกิดความคิดที่จะทำสร้อยลายแบบนี้มาก
สร้อยที่เห็นนั้นเป็นสร้อยที่ทำด้วยสัมฤทธิ์ถักสานเป็นสร้อยสี่เสา จึงได้แกะลายออกมาศึกษา แกะออกมาทีละปล้อง ทีละข้อ ใช้ลวดทองแดงถักร้อยตามรูปแบบเดิม แต่ไม่สำเร็จจึงตัดสินใจไปหาชาวบ้านที่มีอาชีพถักสานกระบุง ตะกร้าให้มีลวดลายมาลองถัก หลังจากนั้นจึงได้ใช้ทองคำที่เป็นเนื้อทองสมัยใหม่มาถักสาน เรียกว่า สร้อยสี่เสา นับเป็นสร้อยเส้นแรกที่เลียนแบบโบราณได้สำเร็จ
หลังจากนั้นก็ได้ผลิตนำออกจำหน่ายที่ร้านขายของเก่าในจังหวัดเชียงใหม่ และร้านขายทองในตลาดสวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร ทำให้ทองโบราณเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป และได้รับความนิยมอย่างสูง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
การทำทองโบราณที่อำเภอศรีสัชนาลัยนั้นเป็นงานฝีมือทุกขั้นตอน รูปแบบที่นำมาผลิตได้จากรูปแบบเครื่องทองโบราณ ลวดลายประติมากรรม ลายปูนปั้น จิตรกรรมฝาผนัง ตลอดจนเครื่องทองโบราณจากแหล่งอื่น ๆ
มาประมวลกันและมีการพัฒนาตกแต่งในการลงยา คือ การตกแต่งเครื่องทองให้มีสีสันสวยงาม โดยใช้หินสีบดให้เป็นผงละเอียดคล้ายทรายแก้ว นำไปแต่งหรือทาบนเครื่องทอง แล้วเป่าไฟให้เนื้อทรายหลอมติดกับเนื้อทองเป็นสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน เป็นต้น รูปแบบทองโบราณศรีสัชนาลัยจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างเด่นชัด
การทำทองโบราณศรีสัชนาลัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ประเภทเครื่องประดับ เช่นสร้อยสามเสา สี่เสา ห้าเสา หกเสา แปดเสา สร้อยก้านแข็ง กำไลข้อมือ กำไลหลอด ข้อมือถักลายเปีย แหวนทอง แหวนทองลงยา เข็มขัด ต่างหู เข็มกลัด และเครื่องประดับอื่น ๆ
2. ประเภทเครื่องใช้สอย เช่น กระเป๋า ผอบ เชี่ยนหมาก กระถางโพธิ์เงิน กระถาง โพธิ์ทอง เสื้อถักทอง กรอบรูปทอง เป็นต้น
ทองโบราณเป็นงานหัตถกรรมที่ประณีต งดงามและมีคุณค่าสูงยิ่งควรแก่การส่งเสริมให้คงไว้ตลอดไป

# ผ้าทอหาดเสี้ยว ผ้าทอพื้นเมืองหาดเสี้ยวหรือผ้าทอศรีสัชนาลัย เป็นผ้าพื้นเมืองที่ขึ้นชื่อแห่งหนึ่งของประเทศไทย
โดยได้รับ แบบอย่างมาจากประเทศลาว เนื่องจากเป็นบรรพบุรุษของชาวไทยพวนศรีสัชนาลัย




วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

แหล่งท่องเที่ยว


สถานที่ท่องเที่ยว

อำเภอศรีสัชนาลัย โดยสภาวัฒนธรรมอำเภอมีนโยบายที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เนื่องจากอำเภอศรีสัชนาลัย เป็นอำเภอที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยมีหลักฐานปรากฏ สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมีดังนี้
# อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ตำบลศรีสัชนาลัย เป็นแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถาน โบราณวัตถุ ห่างจากที่ว่าการ อำเภอ 13 กิโลเมตร
# แก่งหลวง เป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำยมที่ไหลผ่านอุทยานกระทบกับโขดหินกลางลำน้ำก่อให้เกิดทิวทัศน์สวยงาม
# อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย (ป่าคา) ตั้งอยู่ตำบลบ้านแก่ง จะมีทิวทัศน์สวยงามมาก ประกอบด้วยทุ่งหญ้า น้ำตก และสัตว์ป่า อยู่ห่างจากอำเภอประมาณ 45 กิโลเมตร
# อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ท่าแพ ตั้งอยู่ตำบลบ้านแก่ง เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของอำเภอศรีสัชนาลัย ใช้ประโยชน์ด้านเกษตร กรรมและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ
# วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร(พระปรางค์) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้นอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัย มีอายุประมาณ พุทธศตวรรษที่ 18 เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นราชวรวิหาร (ชั้นเอก)
# บ่อน้ำร้อน เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติ ตั้งอยู่ตำบลแม่สิน ห่างจากอำเภอ 30 กิโลเมตร
# ต้นสักใหญ่ ตั้งอยู่ตำบล แม่สำ อยู่ห่างจากอำเภอ 17 กิโลเมตร


คำขวัญ

คำขวัญจังหวัด
กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข

คำขวัญอำเภอ
ประเพณีลือก้อง ทองโบราณ ย่านผ้าซิ่น ถิ่นมรดกโลก























ที่ตั้งและอาณาเขต

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอศรีสัชนาลัยตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้




เนื้อที่/พื้นที่2,113.275 ตร.กม.
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปแบบมรสุม มี 3 ฤดู ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ - เมษายน ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ 

การปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค


อำเภอศรีสัชนาลัยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 148 หมู่บ้าน ได้แก่
  1. หาดเสี้ยว (Hat Siao)
  2. ป่างิ้ว (Pa Ngio)
  3. แม่สำ (Mae Sam)
  4. แม่สิน (Mae Sin)
  5. บ้านตึก (Ban Tuek)
  6. หนองอ้อ (Nong O)
  7. ท่าชัย (Tha Chai)
  8. ศรีสัชนาลัย (Si Satchanalai)
  9. ดงคู่ (Dong Khu)
  10. บ้านแก่ง (Ban Kaeng)
  11. สารจิตร (Sarachit)

การปกครองส่วนท้องถิ่น


ท้องที่อำเภอศรีสัชนาลัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
  • เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดเสี้ยวทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลหนองอ้อ
  • เทศบาลตำบลศรีสัชนาลัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าชัยและตำบลศรีสัชนาลัยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่างิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่างิ้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สินทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตึก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านตึกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองอ้อ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดงคู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงคู่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแก่งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสารจิตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสารจิตรทั้งตำบล

ประเพณีที่สำคัญ


ประเพณีที่สำคัญ

ประเพณีบวชช้าง
ประเพณีบวชช้าง หรือเรียกว่า “แห่ช้าง” อยู่เคียงคู่ผู้คนที่มีสายเลือดไทยพวนมานานแล้ว คือ การนำช้างมาร่วมในพิธีบรรพชาอุปสมบท
มาจากคติความเชื่อทางพุทธศาสนาว่า ถือตามที่พระเวสสันดรให้ช้างปัจจัยนาเคนทร์ อันเป็นช้างเผือกคู่บารมีที่ชาวเมืองเชตุดรถือว่าเป็นมงคลหัตถี
แก่พราหมณ์ทั้ง ๘ จากแคว้นกลิงคราษฎร์ที่มาทูลขอ
ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับอีกตำนานหนึ่ง คือ ตอนที่พระเจ้ากรุงสัญชัย พระราชบิดาของพระเวสสันดรขอให้พระเวสสันดรกลับมาเป็นพระมหากษัตริย์ตามเดิมนั้น พระองค์ได้จัดขบวนช้าง ม้า และรถ ประดับประดาเหมือนออกศึกสงครามให้สมเกียรติ เพื่อไปรับพระเวสสันดรและพระนางมัทรี ขบวนแห่แหนขับด้วยมโหรี
และการละเล่นต่างๆ เป็นการเฉลิมฉลอง
ความเชื่ออีกประการหนึ่ง คือ คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ที่มุ่งให้ผู้บวชถือปฏิบัติตนเพื่อไปสู่โลกอุดร หรือโลกุตรธรรม คือ ธรรมอันพ้นจากโลก ได้แก่
พระนิพพาน แต่คนทั่วไปเข้าใจว่า อุดร หมายถึง ทิศเหนือซึ่งมีสัญลักษณ์ คือ ช้าง ชาวบ้านหาดเสี้ยวจึงนำสัญลักษณ์ที่เรียกว่า “โนนงก” มาเป็นส่วนร่วมใน
ขบวนแห่นาคมาจนถึงทุกวันนี้
ประเพณีบวชช้าง เดิมจัดในวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๔ และบวชในวันแรม ๔ ค่ำ เดือน ๔ แต่ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้เปลี่ยนเป็นวันที่ ๗ เมษายน ของทุกปี แล้วทำพิธีบวชในวันรุ่งขึ้น
ประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮงสรงน้ำเจ้าพ่อเมืองด้ง
ประเพณีนี้จะจัดขึ้นเพื่อถวายสักการะศาลเจ้าพ่อ – เมืองด้ง ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ของอำเภอศรีสัชนาลัยในสมัยพระเจ้าอติโลกราช โดยกำหนดการจัดงานในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ณ โรงเรียนเมืองด้งวิทยา ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย




ประเพณีสรงน้ำโอยทาน
จากหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า “..คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน(ให้ทาน) พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายทั้งผู้ญีง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา..”
จากจารึกแสดงให้เห็นว่าชาวสุโขทัยในสมัยเมื่อ ๗๐๐ ปีมาแล้ว ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม โครงการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จึงได้มีแผนที่จะรักษาเอกลักษณ์ของการทำบุญสุนทานให้คงอยู่ในสุโขทัย ให้เหมือนในอดีต จึงร่วมมือกับจังหวัด พ่อค้า ประชาชน จัดงานสรงน้ำโอยทานขึ้นในวันที่ ๑๒ – ๑๔ เมษายน ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ และได้จัดเป็นประเพณีทุกปี
ในส่วนของอำเภอศรีสัชนาลัยมีประเพณีสรงน้ำโอยทาน ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ ๑๒ เมษายน ของทุกปีงานในภาคเช้าเริ่มด้วยพิธีบวงสรวงบริเวณหลักเมืองในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตอนบ่ายมีขวนแห่ซึ่งตกแต่งอย่างสวยงาม ประกอบด้วยขบวนแห่พระพุทธรูปรถพระร่วง พระลือ และขบวนรถของแต่ละตำบลขบวนรถจะเคลื่อนจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยมายังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมื่อขบวนรถเคลื่อนมาตามถนนประชาชนที่อยู่ริมถนนจะนำน้ำมาสรงพระพุทธรูป และพระร่วง พระลือ เมื่อขบวนมาถึง
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ก็จะนำพระพุทธรูป พระร่วง พระลือ ไปประดิษฐานไว้บนแท่น เพื่อให้ประชาชนสรงน้ำพร้อมกับพระสงฆ์และผู้สูงอายุตามลำดับ
อำเภอศรีสัชนาลัยได้รับการบันทึกจากองค์การยูเนสโกและประกาศเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543


การก่อตั้งเมืองศรีสัชนาลัย



ชนกลุ่มแรกๆของการก่อตั้งอำเภอศรีสัชนาลัยในปัจจุบัน มี 2 กลุ่ม คือ ชาวไทยล้านนา และชาวไทยสยาม

ชาวพื้นเมืองของอำเภอศรีสัชนาลัย มีหลายกลุ่ม แต่จะมี  2 กลุ่มใหญ่ๆ  ดังนี้
1.ชาวไทยสยาม อาศัยอยู่บริเวณศรีสัชนาลัยตอนใต้  เช่น ตำบลหนองอ้อ ท่าชัย  ศรีสัชนาลัย    พูดสำเนียงไทยเหน่อ หรือ สำเนียงสุโขทัยนั่นเอง  เป็นชาวไทย เชื้อสายขอม  เสียม หรือ  สยามในอดีต  เป็นผู้สร้างวัด และสิ่งปลูกสร้าง โบราณสถาน ที่พบในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
2.ชาวไทยล้านนา อาศัยอยู่บริเวณตอนบนของศรีสัชนาลัย  เช่นตำบลบ้านตึก  ตำบลแม่สิน ตำบลแม่สำ (บางหมู่บ้าน) เป็นชาวไทยเชื้อสายล้านนา  พูดสำเนียงไทยเหนือ น่าจะอพพยมาจากทางเหนือ กลุ่มเดียวกับ คนอำเภอลับแล อุตรดิตถ์ ซึ่งมีพื้นที่อยู่ติดๆกัน ส่วน ตำบลแม่สิน น่าจะอพยพมาจากทางจังหวัดแพร่
และต่อมาได้มีคนเชื้อสายอื่นๆมาอาศัยด้วยเช่นกัน  เช่น เชื้อสายลาว ไทพวน  จีน และชาวไทยภูเขา

ตำนานได้กล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งอดีตมีชายแก่คนหนึ่งได้เดินทางเข้ามาถึงบ้านแห่งนี้ (บ้านตึกในปัจจุบัน “ เมื่อครั้งหมู่บ้านแหงนี้ยังไม่มีชื่อบ้านโดยมุ่งหน้าไปตั้งหลักฐานทำมา หากินในท้องที่อุดมสมบูรณ์ พอถึงหมู่บ้านแห่งนี้แล้วคิดว่าคงเดินทางไปไม่ได้อีกแล้วเพราะมีภูเขาล้อม รอบอยู่ข้างหน้าอีกด้วย
ประกอบกับเวลานั้นมีฝนตกชุกมากจึงได้เอ่ยขึ้นว่า “ ที่นี้ตึกแล้วฝนก็ตึ๊ก อย่างอื่นก็คงตึ๊กด้วย “ และจึงหยุดเดินทางและได้ตั้งหลักฐานมั่นคงอยู่ที่บ้านแห่งนี้ และต่อมาชาวบ้านแห่งนี้จึงได้เรียกชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “ บ้านตึ้ก “ ซึ่งต่อมาได้เรียกเพี้ยนมาเป็น “ บ้านตึก “ ในที่สุด (คำว่า “ ตึ๊ก “ มีความหมายว่า ที่สุดแล้ว เช่น อร่อยที่สุด ใหญ่ที่สุด ดีที่สุด ฯลฯ ประชาชนจึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “ บ้านตึ๊ก “ ในที่สุดและใช้อยู่จนปัจจุบัน)
คำว่าเมืองด้ง ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุ พ.ศ. ๒๔๒๘ ใบบอกเมืองสวรรคโลก จ.ศ. ๑๒๔๗ แสดงว่าเมืองด้งคง จะได้รับการยกฐานะชุมชนบริเวณบ้านตึกขึ้นเป็นเมือง ตำแหน่งเจ้าเมืองมียศเป็นที่พระเมืองด้ง ขึ้นอยู่ในความปกครองของเมืองสวรรคโลก ชื่อเมืองด้งมีความเป็นมาดังนี้
- พ.ศ. ๒๐๐๓ – ๒๐๐๗ เป็นที่ตั้งกองกำลังควบคุมเมืองเชลียง หรือศรีสัชนาลัย หรือเชียงชื่นของเจ้าหมื่นด้ง เจ้านครลำปาง

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ บ้านตึกได้ตั้งเป็นที่ว่าการอำเภอครั้งแรก ตั้งอยู่ที่บ้านปลายนา (หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านตึกในปัจจุบัน) เดิมชื่ออำเภอด้ง อยู่ห่างไปทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอ ปัจจุบันประมาณ ๑๒ กิโลเมตร โดยมีนายอำเภอ ๒ คน คือ คนที่ ๑ ชื่อพระเมืองด้ง
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2441 บ้านตึกได้ตั้งที่ว่าการอำเภอครั้งแรก ตั้งอยู่ที่ บ้านปลายนา (หมู่ที่ 3 ต.บ้านตึกในปัจจุบัน) เดิมชื่อ “ อำเภอด้ง” อยู่ห่างไปทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน ประมาณ 12 กม. สาเหตุที่ใช้ชื่อว่า “ อำเภอด้ง ”
เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของอำเภอเป็นที่ราบและมีภูเขาล้อมรอบเป็น รูปวงกลมคล้ายรูปกระด้ง จึงได้ตั้งชื่อว่า อำเภอด้ง ซึ่งตั้งอยู่ได้นานถึง 12 ปี โดยมีนายอำเภอ 2 คน คือ พระเมืองด้ง หมื่นดงนคร แต่ประชาชนนิยมเรียกนายอำเภอว่า เจ้าพ่อเมืองด้ง หรือ เจ้าปู่เมืองด้ง
หลังจากได้ย้ายที่ว่าการอำเภอด้งมาอยู่ที่ หมู่บ้านหาดเสี้ยว (บ้านหาดเชี่ยว) แล้ว ต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น “ อำเภอหาดเสี้ยว” ตามที่กล่าวมาข้างต้นจนถึง พ.ศ.2476 หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว คณะรัฐบาลสมัยพระยาพหลพลพยุหเสนาพิจารณาแล้วเห็นว่าควรจะนำปูชนียสถาน
————————————
ถิ่นฐานเดิมของชาวไทยพวน ตามประวัติศาสตร์ย่อมเป็นที่ทราบกันดีว่า ชนชาติไทยเรานั้นมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในตอนใต้ของประเทศจีน แล้วได้ถอยร่นลงมาเป็นลำดับตามเหตุการณ์ต่าง ๆ จนกระทั่งได้มาตั้งอยู่ ณ ที่ปัจจุบันนี้ ชาวไทยพวนก็เป็นคนไทยสาขาหนึ่ง ดังข้อความในหนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1 หน้า 295 ซึ่งคุณถวิล เกษรราช นำมาลงไว้ในหนังสือประวัติผู้ไทยตอนหนึ่งมีข้อความว่า “ชนชาติต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันนี้ นอกจากชาวไทยแล้ว ยังมีคนไทยสาขาอื่น ๆ อีกหลายสาขาเช่น ผู้ไทย พวน และโซ่ง ซึ่งเป็นคนไทย สาขาหนึ่ง เดิม ผู้ไทย พวน และโซ่ง มีถิ่นฐานอยู่ทางฝั่งแม่น้ำโขงในประเทศลาว ทางแขวงซำเหนือ และแขวงเซียงขวาง พวกผู้ไทยมีอยู่ทางอีสาน มีจังหวัดสกลนคร และนครพนม เป็นต้น ส่วนพวกพวนและพวกโซ่งมีอยู่กระจัดกระจายเป็นแห่ง ๆ ทางภาคกลางมีจังหวัดสุโขทัย จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดกาญจนบุรีเป็นต้น ไทยทั้ง 3 พวกนี้มีลักษณะทางภาษาใกล้เคียงกันมาก แทบจะกล่าวได้อย่างกว้าง ๆ ว่าเป็นภาษาไทยสาขาเดียวกัน แม้ ชาวไทยพวนเอง เรียกพวกบ้านเดียวกันหรือต่างบ้าน ก็จะมีคำว่า “ไทย” กำกับด้วยเสมอ คล้ายกับประเทศพวกตนเองว่าเป็นคนไทยเช่น ไทยบ้านเหนือ ไทยบ้านกลาง ไทยบ้านใต้ ไทยบ้านหาดสูง ไทยบ้านใหม่ ไทยบ้านแม่ราก และเรียกคนต่างถิ่นว่าเป็นคนไทยด้วย เช่น ถ้าพบคนต่างถิ่น เมื่อต้องการทราบว่าเป็นคนบ้านไหนก็จะถามว่าท่านเป็นคนบ้านไหน (ภาษาไทยพวนว่า เจ้าเป็นไทยบ้านเลอ) ดังนั้น จึงเข้าใจว่าชาวไทยพวนคงจะมีถิ่นฐานรวมอยู่ ณ ที่แห่งเดียวกันด้วย
“พวน” ซึ่งเป็นคำเรียกชื่อชาวไทยสาขาหนึ่ง มีถิ่นฐานอยู่ที่เมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวาง ในประเทศลาว มีความหมายว่ากระไร เหตุไรจึงเรียกชื่อว่า “พวน” การค้นคว้าได้ตั้งคำถามที่จะค้นคว้าไว้คือ “พวน , คนพวน , ชาวพวน, ไทยพวน, ลาวพวน ” หนังสือที่จะค้นคือ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อัขรานุกรมภูมิศาสตร์ ปทานุกรม กระทรวงธรรมการซึ่งเลิกใช้แล้วแต่ก็ต้องผิดหวังเพราะไม่มีคำว่าพวน ซึ่งให้ความหมายเป็นชื่อเรียกคนเลย มีแต่ เชือกเกลียว, แนว, รวงข้าวที่นวดแล้ว หรืออ้อยซึ่งหีบครั้งที่สอง ” เมื่อความหมายไม่ตรงกับที่ผู้เรียบเรียงต้องการ ดังนั้นจึงได้มีการค้นคว้าต่อจากการศึกษาทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการสอบถาม หรือการค้นคว้าจึงได้ความหมายว่าคำว่า “พวน” เป็นชื่อของคนไทยสาขาหนึ่ง ซึ่งทางภาคอีสานเรียกว่า “ไทยพวน” แต่ทางภาคกลางเรียกว่า “ลาวพวน” คำว่า “พวน” นี้เป็นสมญาของไทยสาขาหนึ่ง ก็คงทำนองเดียวกันเรียกชื่อกันตามถิ่นที่อยู่ ไทยสาขานี้ส่วนใหญ่อยู่ที่แขวง เชียงขวาง ประเทศลาว ถิ่นที่อยู่ของชาวไทยพวนนอกจากที่เชียงขวางแล้ว ยังกระจัดกระจายไปอยู่ที่อื่นอีกทั่วบริเวณ ลุ่มน้ำงึมในเขตประเทศลาว เช่น บ้านหาดสวนพันทอง ตาลเปี่ยว หาดเสี้ยว บุ่งพร้าว ตลิ่งชันบ้านเกิด ฯลฯ สมัยกรุงธนบุรี เมื่อประเทศลาวได้รวมเป็นอาณาจักรเดียวกันกับประเทศไทยจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แผ่นดินรัชกาลที่ 3
พลเมืองทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงได้ถูกกวาดต้อนมาอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงหลายท้องถิ่นด้วยกัน ทั้งภาคอีสาน และ ภาคกลาง คนไทยพวนได้ถูกกวาดต้อนมาด้วย และได้กระจัดกระจายไปอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั้ง 2 ภาค ภาคอีสาน เช่น ที่อำเภอผือ จังหวัดอุดรธานี ภาคกลางเช่น จังหวัดพิชิต จังหวัดสุโขทัย ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา และอื่น ๆ มีสิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ คนเหล่านี้เมื่อถูกกวาดต้อนมาพร้อมกัน เช่น เมืองเรณูนคร เป็นต้นเฉพาะชาวบ้านหาดเสี้ยว คงเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่โตมาก นอกจากที่ตกค้างอยู่ในหมู่บ้านหาดเสี้ยวเดิมแขวงเมืองตุลาคมประเทศลาวแล้ว ยังมาอยู่ที่ตำบลหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย และที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เฉพาะที่อำเภอแก่งคอย มีทั้งบ้านหาดเสี้ยวและบ้านตาลเปี่ยว แต่บ้านตาลเปี่ยว เปลี่ยนชื่อเป็นตาลเดี่ยวรุปว่า “พวน”
เป็นชื่อเรียกคนไทยสาขาหนึ่ง ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่เมืองพวนแขวงเมืองเชียงขวาง ในประเทศลาว ที่เรียกชื่อว่า เมืองพวนเพราะตั้งอยู่ใกล้ภูเขาชื่อว่าภูพวน จึงได้ตั้งชื่อเมืองว่า เมืองพวน แล้วเอาชื่อเมืองมาเรียก เป็นชื่อคนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองนั้นว่าคนพวนหรือชาวพวน เพื่อแก้ความข้องใจของคนบางคนซึ่งอาจมีขึ้นได้ว่าก็เมื่อภูเขาชื่อว่า ภูพวน เหตุไรจึงไม่ตั้งชื่อเมืองภูพวน เรียกชื่อคนว่าคนภูพวน หรือชาวภูพวนเล่าจึงขอชี้แจงเพิ่มเติมไว้สักเล็กน้อยคือ เพิ่มเติมทีเดียวอาจเป็นไปไม่ได้ ต่อมาคำว่าภูก็ลบเลือนหายไปเรียกกันแต่เพียงว่าเมืองพวน อีกอย่างหนึ่ง คำว่าภูเขาชาวพวนกับชาวอีสาน ดูเหมือนจะใช้ตรงกันคือ คำสองคำนี้มีความหมายอย่างเดียวกัน คือ ภูก็คือเขา เขาก็คือภู เวลาจะใช้ภูเขาก็ใช้แต่เพียงคำเดียวคือ คำว่าภูหรือเขา คำใดคำหนึ่ง ไม่ใช้สองคำรวมกัน เช่น ภูกระดึง ภูเขีย เขาพนมเพลิง เขาพลิ้ง เขาใหญ่ ถ้าเรียกตามภาษาภาคกลางก็เรียกว่า ภูเขากระดึง ภูเขาเขียว ภูเขาพนมเพลิง ภูเขาพลิ้ง ภูเขาใหญ่ ดังนั้น จึงสันนิษฐานว่าการตั้งชื่อเมืองพวน ท่านอาจไม่เอาคำว่าภูหรือเขาตั้งด้วย เอาแต่เพียงชื่อภูเขามาตั้งก็เป็นได้ มีตัวอย่างที่ชาวไทยพวนได้ตั้งกันมาแล้วเช่น บ้านหมี่ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เมื่อชาวไทยพวนอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในตอนแรก ก็ได้ตั้งชื่อว่า บ้านสนามแจง เพราะตั้งอยู่ใกล้ภูเขาชื่อว่าสนามแจง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของสถานีรถไฟบ้านหมี่ ทั้งนี้ได้ทราบจากผู้เฒ่าผู้แก่ชาวบ้านหาดเสี้ยวซึ่งมาเยี่ยมญาติบ้านสนามแจงเล่าให้ฟังว่า การตั้งชื่อบ้านก็เอาชื่อภูเขามาตั้งไม่ได้เอาภูหรือเขามาตั้งด้วย จึงเรียกแต่เพียงว่า “บ้านสนามแจง” ต่อมาจึงเรียกว่า บ้านหมี่
เมืองศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีสัชนาลัย ชาวบ้านเรียกว่าบ้านเมืองเก่า อยู่ทางทิศใต้ ของที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน ประมาณ 12 กิโลเมตร ทางกรมศิลปากร ได้กำหนดแนวทาง การอนุรักษ์เมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งเรียกว่า โครงการอุทยานประวัติศาสตร์
ศรีสัชนาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2525 และสามารถบูรณตบแต่งจนเปิดเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2533
ภายในเขตกำแพง เมืองมีโบราณสถานซึ่งบูรณะซ่อมแซมตบแต่งเรียบร้อยแล้ว ที่สำคัญมีอยู่ 8 แห่ง คือวัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดนางพญา วัดสวนแก้วอุทยานน้อย ศาลหลักเมือง วัดเขาพนมเพลิง และวัดสุวรรณคีรี อันเป็นสถานที่อันสำคัญของอุทยาน

เมื่อย้ายมาอยู่ที่บ้านหาดเสี้ยวจึงเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอหาดเสี้ยวและเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภศรีสัชนาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2486 เป็นต้นมา
สำหรับคำว่า “อำเภอศรีสัชนาลัย” เดิมเป็น “อำเภอศรีสัชชนาลัย” มี ช 2 ตัว ปัจจุบันใช้ ช. ตัวเดียว ทั้งนี้คณะกรรมการจัดทำ อักขรานุกรรมภูมิศาสตร์แห่งราชบัณฑิตยสถานและกรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาไทย ได้ประชุมรับรองแล้วให้เปลี่ยนชื่ออำเภอศรีสัชนาลัย เป็นอำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งมีความหมาย ดังนี้ ศรี หมายถึง ความดีงาม (ธรรมะ) สัชชนะ หมายถึง เงินทอง ลัย หมายถึง เมืองน่าอยู่
รวมความแล้ว หมายถึง เมืองธรรม เมืองทอง หรือเมืองอันเป็นที่อยู่ของคนดีหรือสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งเป็นอำเภอ / จังหวัด จึงได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอหาดเสี้ยวใหม่ “ เป็น “ อำเภอศรีสัชนาลัย “ เพราะเมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์คู่ กับเมืองเชลียง ซึ่งปัจจุบันนี้เมืองศรีสัชนาลัยได้ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีสัชนาลัย ชาวบ้านเรียกว่า “ เมืองเก่า ศรีสัชนาลัย “